การประกอบอาชีพและกำหนดราคาการจำหน่าย

การประกอบอาชีพและกำหนดราคาการจำหน่าย
คุณสมบัติที่จำเป็นของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้สนใจที่จะนำเอาการทำลวดลายบนกระจกไปประกอบอาชีพควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
      • เป็นผู้ที่มีความรู้หรือมีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะ
      • มีความสามารถในการออกแบบเขียนลวดลายและเลือกลวดลายต่างๆได้  เหมาะสมกับงาน
      • มีความสามารถในการตัดสติกเกอร์ดีพอสมควร
      • มีความรู้เกี่ยวกับสีเพ้นท์ดีพอสมควร
      • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้
      • มีความรู้ด้านการจัดการ การผลิตและการตลาดพอสมควร
      • มีความเชื่อมั่นในตนเองเมื่อมีอุปสรรคสามารถแก้ไขได้โดยไม่ย่อท้อ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
   การประกอบอาชีพการทำลวดลายบนกระจกในปัจจุบันมีผู้ทำไม่มากนักเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูงแนวทางในการประกอบอาชีพ แบ่งออกเป็น 2ลักษณะคือ
1. การทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย
   การทำงานลักษณะนี้เหมาะสำหรับการทำเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต่างๆ เช่น กระจกเงาแก้วน้ำ พวงกุญแจ ที่เขี่ยบุหรี่ ฯลฯแนวทางที่จะประกอบอาชีพลักษณะนี้ควรมีร้านเป็นของตัวเอง ในทำเลที่เป็นแห่งท่องเที่ยวหรือเปิดร้านตามห้างสรรพสินค้าและในตลาดนัดต่างๆ ก็ยังเป็นที่นิยมของบุคคลจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นของที่ระลึกหรือของฝาก  ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนั้นควรจะมีการรับสั่งทำของที่ระลึกต่างๆ แบบรอรับได้เลย  โดยทำให้เห็นขั้นตอนต่างๆ ในการทำงานให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาได้ดูด้วยเป็นการกระตุ้นให้คนสนใจจะทำให้มีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
2. การรับทำงานตามคำสั่ง
   การทำงานลักษณะนี้จะเหมาะสำหรับงานประเภทตกแต่งกระจกหน้าร้าน ตกแต่งผนังกระจก หน้าต่าง ฯลฯ  งานลักษณะนี้จะขึ้นอยู่กับฝีมือถ้าผลงานออกมาดีเยี่ยมเป็นที่ยอมรับของเจ้าของงานก็จะทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ก็จะมีงานมาให้ทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
การประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ
   ต้นทุน  คือ  ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้จ่ายออกไปในขณะปฏิบัติงานรวมทั้งค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
   ค่าแรง  คือ  ค่าแรงงานของผู้ปฏิบัติงานหรือค่าแรงงานของลูกจ้าง
   ค่าใช้จ่ายอื่นๆ  เช่น ค่าสึกหรอของเครื่องมือ ค่าเช่าสถานที่ต่างๆ ค่าปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานค่าขนส่ง ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
การกำหนดราคาจำหน่าย
   ลักษณะของการจำหน่ายจะต้องคำนึงถึงส่วนประกอบต่างๆ ในการดำเนินการมีทั้งกลุ่มเป้าหมายในการซื้อ การขาย การผลิตสำหรับการกำหนดราคาจำหน่วยควรมีแนวทางดังนี้
   ค่าต้นทุน ค่าแรง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมกัน แล้วคิดเป็น เท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นกำไรในการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย
   การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายต่างๆ ควรจัดทำแบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน เพื่อทราบรายละเอียดต่างๆ ของการจัดทำผลิตภัณฑ์และทราบรายรับ-รายจ่าย  เพื่อประกอบการกำหนดราคาจำหน่าย พร้อมทั้งเป็นแนวทางในด้านการตลาดและการจัดการ
บัญชีรับ-จ่ายของ...............................................................

วัน เดือน ปี
รายการ

คงเหลือ
รับ
จ่าย
















ลงชื่อ........................................ผู้ทำบัญชี
(..............................................)


ลงชื่อ......................................ผู้ตรวจสอบบัญชี
(............................................)