ความเป็นมาของกระจกและแก้ว




ประวัติความเป็นมาของกระจกและแก้ว

   มนุษย์เริ่มรู้จักกรรมวิธีการทำกระจกและแก้วขึ้นมาเมื่อไรและอย่างไรนั้น ไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด รู้เพียงว่าเมื่อสมัย 3,000-4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ได้มีการใช้ประจกและแก้วเป็นเครื่องประดับแล้ว  และเป็นที่สันนิษฐานกันว่ามนุษย์คงค้นพบกระจกและแก้วโดยบังเอิญ  ภายหลังจากที่ก่อกองไฟบนทรายขาวและจากประสบการณ์นี้    จึงเริ่มรู้จักกรรมวิธีในการทำในช่องศตวรรษที่ 1-4  วิธีการผลิตกระจกและแก้วได้แพร่หลายจากประเทศอียิปต์  ผ่านประเทศกรีกเข้าไปในยุโรป  หลังจากนั้นได้มีการนำกระจกไปใช้ในการประดิษฐ์แว่นตา (ค.ศ. 1285) กล้องจุลทรรศน์ (ค.ศ. 1558)    กล้องโทรทัศน์ (ค.ศ. 1609) และใช้งานอื่นๆ อีกมากมายแล้ว ความต้องการผลิตจึงมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เทคนิคการผลิต จึงได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จึงถึงปัจจุบัน


กรรมวิธีการผลิตกระจกและแก้ว

   กระจกและแก้วเป็นวัตถุโปร่งแสงหรือกึ่งโปร่งแสง ที่ได้จากการหลอมเหลวออกไซด์ของโลหะต่างๆ เช่น ซิลิกาออกไซด์  โซเดียมออกไซด์  แคลเซียมออกไซด์ และตะกั่วออกไซด์  จนได้เป็นของเหลวเนื้อเดียวกัน แล้วทำให้เย็นลงเป็นของแข็งรูปร่างต่างๆ ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม


วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตกระจกและแก้ว

1. วัตถุดิบหลักตัวพื้น    ได้แก่

  • ทราย (Silica Sand) 63%
  • โซดาแอช (Soda Ash) 20%
  • หินปูน (Limestone) 15%
2. วัตถุดิบและสารเคมีที่เป็นตัวเสริมในการทำแก้ว ได้แก่

  • ตัวฟอกสีเพื่อให้เนื้อใส
  • ตัวช่วยเร่งการหลอมละลาย
  • ตัวไล่ฟองอากาศหรือแก๊สที่เกิดจากการสลายตัวของวัตถุดิบ
  • ตัวให้ออกซิเจน
  • สารลดความหนืด
  • สารเพิ่มความทนอลูมินา
  • สารที่ทำให้เกิดสี


    • โคบอลต์     ทำให้เกิดสีน้ำเงิน
    • ทองแดง    ทำให้เกิดสีทอง
    • ซีลีเนียม  ทำให้เกิดสีแดง
    • ถ่าน  ทำให้เกิดสีน้ำตาล
    • ฯลฯ
    ขั้นตอนต่อไปนำเอาวัตถุดิบดังกล่าวเข้าเครื่องบด   และผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม   แล้วนำเข้าเตาหลอมอุณหภูมิประมาณ 1,500-1,600 องศาเซลเซียส   จนส่วนต่างๆ หลอมละลายแล้วส่งไปยังเครื่องขึ้นรูป         เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป



การใช้ประโยชน์จากกระจกและแก้ว

  มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยโบราณ  เพราะกระจกและแก้วมีความทนทานสูงต่อสารเคมี สามารถทำเป็นรูปร่างต่างๆ ได้แทบทุกชนิด  ซึ่งมนุษย์นำกระจกและแก้วมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
1. ทำเครื่องประดับและของที่ระลึก

  • ทำเป็นรูปร่างต่างๆ ได้มากมาย เช่น รูปปั้นสัตว์ต่างๆ
  • ทำเป็นโคมระย้า พวงกุญแจ
  • ทำเป็นของที่ระลึกต่างๆ ฯลฯ
2. ทำภาชนะต่างๆ
  เนื่องจากแก้วมีคุณสมบัติโปร่งใสและทนทานต่อสารเคมีต่างๆ ได้ดี จึงนิยม นำมาทำเป็นภาชนะ  เช่น แก้วน้ำ  จาน ชาม ถ้วย ขวดบรรจุ   เครื่องดื่ม ฯลฯ
3. ประกอบกับวัสดุอื่นๆ ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ   เช่น
   ประกอบทำเครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า วิทยุ เครื่องเสียง นาฬิกา แว่นตา อุปกรณ์รถยนต์ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
4. ทำเป็นเส้นใย
    ทำไมโครโฟนเบอร์กลาส สำหรับฉนวนกันความร้อน ทั้งในบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น